Allergies

ภูมิแพ้ ปรับตัวได้ทัน ไม่ต้องทนป่วย

ปัจจุบัน “ ภูมิแพ้ ” ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและพบได้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ โรคนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงกลุ่มคนที่มีความเปราะบางทางสุขภาพเท่านั้น แต่สามารถเกิดได้กับทุกคนในสังคม อาการของโรคภูมิแพ้มักเริ่มต้นอย่างไม่รุนแรง เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ไอเรื้อรัง หรือมีผื่นคันบนผิวหนัง ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นอาการเล็กน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลอย่างถูกวิธี อาการเหล่านี้สามารถพัฒนาไปสู่โรคที่เรื้อรังและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว เช่น โรคหอบหืด โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือแม้แต่อาการภูมิแพ้ที่รุนแรงจนเป็นอันตรายต่อชีวิต สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยจำนวนมากอาจไม่รู้ตัวว่าอาการที่เผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันเกิดจากภูมิแพ้ และจึงเลือกที่จะ “ทน” กับอาการเหล่านั้นโดยไม่หาสาเหตุหรือแนวทางป้องกันที่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ การเข้าใจโรค และเรียนรู้วิธีการปรับตัวให้ทันจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพราะแม้โรคภูมิแพ้จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ก็สามารถควบคุมและลดความรุนแรงได้หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม   ภูมิแพ้ คืออะไร? คือ ภาวะความผิดปกติที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น โดยอาการภูมิแพ้นี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสสารซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ หรือเรียกว่าสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ฝุ่นละออง เชื้อราในอากาศ และเกสรดอกไม้ เป็นต้น เมื่อร่างกายเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้แล้ว ก็จะหลั่งสารฮีสตามีน (Histamine) ออกมา ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น คัน...

Read more...
Coughing

นอนในห้องแอร์ทำให้เด็ก ไอ ง่ายจริงไหม?

พยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2568 เผยว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดและอบอ้าวเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 35–36 องศาเซลเซียส และบางพื้นที่อาจแตะถึง 42 องศาเซลเซียส สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวนี้ทำให้หลายครอบครัวต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศเพื่อคลายความร้อน โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่อากาศยังคงร้อนอบอ้าว คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจมีความกังวลว่า การให้ลูกน้อยนอนในห้องที่เปิดแอร์จะทำให้ป่วยง่ายขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะอาการ ไอ และปัญหาระบบทางเดินหายใจ ถือเป็นความกังวลอันดับต้น ๆ ที่เกิดขึ้น   สาเตุของอาการ ไอ ในเด็ก อาการไอในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด หรือโรคในระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ การไอตอนกลางคืนก็มักเกิดจากเสมหะที่ไหลลงคอ หรือปัญหาจากภูมิแพ้และไซนัสอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในเด็ก เมื่อเปิดแอร์เป็นเวลานาน ความชื้นในอากาศภายในห้องจะลดลง ส่งผลให้เยื่อบุโพรงจมูกและลำคอแห้ง เด็กจึงอาจมีอาการระคายเคือง คอแห้ง หรือไอได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ระบบทางเดินหายใจยังไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม การนอนห้องแอร์ ไม่ได้ทำให้เด็กป่วยโดยตรง เพียงแต่หากดูแลไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิต่ำเกินไป หรือความชื้นในห้องต่ำเกินไป ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการไอหรือไม่สบายได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่หลายคนเข้าใจว่า "เด็กเล็กป่วยเพราะแอร์" ทั้งที่จริงแล้ว สาเหตุหลักมาจากปัจจัยร่วมหลายด้าน เช่นเชื้อไวรัส...

Read more...
Wheezing

รู้ทันอาการหายใจครืดคราดในเด็ก สัญญาณเตือนที่แม่ไม่ควรมองข้าม

หายใจครืดคราด เสียงที่อาจดูเหมือนเรื่องธรรมดาสำหรับหลายครอบครัว โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงหรือมีฝุ่นละอองมาก อย่างไรก็ตาม คุณแม่รู้หรือไม่ว่าเสียงหายใจผิดปกตินี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิดไปจนถึงวัยประถมที่ระบบทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่  

หายใจครืดคราด คืออะไร?

อาการหายใจครืดคราด คือเสียงหายใจที่เกิดจากการมีสิ่งอุดตันในทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก เสมหะ หรืออาการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ภูมิแพ้ หรือแม้แต่โรคหอบหืดในเด็ก  

สาเหตุที่พบบ่อยในเด็ก

ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง – เด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงวัยแรกเกิดมีโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย ฝุ่น ควัน และมลภาวะ – สิ่งกระตุ้นในสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการระคายเคืองในโพรงจมูก อากาศแห้งหรือเย็นจัด – ทำให้โพรงจมูกแห้ง มีเสมหะข้นเหนียว การนอนผิดท่า – บางครั้งอาจทำให้เกิดเสียงหายใจผิดปกติเป็นบางช่วง  

สัญญาณอันตรายที่แม่ต้องรีบพบแพทย์

หายใจเร็วหรือหอบเหนื่อย หน้าเขียวหรือซีด กินนมน้อยลง น้ำหนักไม่เพิ่ม มีไข้สูงร่วมกับเสียงหายใจครืดคราด มีเสียงหวีด (wheezing) ขณะหายใจเข้า-ออก  

วิธีดูแลลูกเมื่อลูกมีอาการ

หมั่นล้างจมูก ด้วยน้ำเกลือหรือใช้ที่ดูดน้ำมูกแบบปลอดภัย ให้ลูกดื่มน้ำมากขึ้น (หากเป็นเด็กที่เริ่มทานน้ำได้แล้ว) ทำความสะอาดห้องนอนและของใช้ ป้องกันฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ ใช้สติ๊กเกอร์หัวหอม Happy Noz...

Read more...
ความดันโลหิตสูง

อากาศร้อน ทำให้ความดันโลหิตสูงจริงไหม? เผยภัยสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

ผู้ที่มีภาวะ ความดันโลหิตสูง ในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเริ่มรู้สึกถึงอาการอ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หรือมีอาการเวียนหัว ซึ่งอาจกังวลถึงผลกระทบจากอากาศร้อนที่อาจทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง แท้จริงแล้ว อากาศร้อนสามารถมีผลต่อความดันโลหิตได้ทั้งการเพิ่มและลดระดับความดัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล โดยทั่วไป เมื่ออากาศร้อนขึ้น ร่างกายจะมีการขยายหลอดเลือดเพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง อย่างไรก็ตาม หากร่างกายขาดน้ำหรือมีการสูญเสียเกลือแร่จากการเหงื่อออกมาก ก็อาจทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้สูงอายุ ควรให้ความสำคัญกับการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย และเฝ้าระวังอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น  

การตรวจเช็คความดันโลหิต

การช้เครื่องวัดความดันโลหิตเป็นวิธีตรวจสอบที่ง่ายและสะดวกมากที่สุด โดยค่าความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากค่าวัดค่าได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคนี้มักไม่มีอาการแสดงชัดเจน แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะสูงถึงระดับอันตรายแล้ว แต่ในบางกรณีผู้ป่วยอาจพบอาการเวียนหัว ตึงต้นคอ ใจสั่น หรืออ่อนเพลีย โดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน  

อาการที่ควรปรึกษาแพทย์

เจ็บหน้าอกหรือใจสั่น เหนื่อยง่ายผิดปกติ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง พร้อมกับอาเจียน แขนขาหรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง หรือไม่มีแรงในช่วงเวลาสั้น ๆ ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งหรือมีการมองเห็นผิดปกติ  

วิธีดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรค ความดันโลหิตสูง ในช่วงฤดูร้อน

หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มและอาหารสำเร็จรูป งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำและรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ...

Read more...
ฮีทสโตรก

ฮีทสโตรก ภัยร้ายซ่อนเร้นจากอากาศร้อนจัด

ในช่วงฤดูร้อนหรือช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัด ร่างกายของเราต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อระบบการทำงานภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจนเกินขีดจำกัดที่ร่างกายสามารถปรับตัวได้ อาจทำให้เกิดภาวะรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ หนึ่งในภาวะอันตรายที่มักเกิดขึ้นในสภาพอากาศร้อนจัดก็คือ ฮีทสโตรก หรือที่เรียกกันว่า โรคลมแดด

ฮีทสโตรก คืออะไร?

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตามปกติ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40°C (104°F) จนส่งผลต่อระบบประสาทและอวัยวะภายใน มีอาการ ปวดศีรษะ หน้ามืด สับสน หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชัก หรือหมดสติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ภาวะช็อกหรือเสียชีวิตได้

สัญญาณเตือน

หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบให้ความช่วยเหลือหรือพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที ✅ ตัวร้อนจัด อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40°C ✅ ผิวแห้ง ร้อน ไม่มีเหงื่อออก ✅ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ความดันโลหิตลดลง ✅ เวียนศีรษะ หน้ามืด สับสน ✅ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ✅ ชักกระตุก หรือหมดสติ

วิธีป้องกัน

...

Read more...
เด็ก

ป้องกันไว้ดีกว่าแก้! 3 โรคในเด็กที่มาพร้อมกับฤดูร้อน

ฤดูร้อน มาถึงพร้อมกับช่วงปิดเทอม เด็ก ๆ มีเวลาว่างมากขึ้น หลายครอบครัวมักหาเวลาว่างเพื่อทำกิจกรรมร่วมกับลูก ๆ เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศที่ร้อนจัด อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตลอดวัน รวมถึงฝุ่นละอองและเชื้อโรคในอากาศ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็ก ๆ เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะโรคที่มักระบาดในช่วงหน้าร้อน  

3 โรคในเด็กที่มาพร้อมกับ ฤดูร้อน

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถพบได้ตลอดปีและในทุกวัย แต่สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจะสูงกว่าวัยอื่น อาการที่พบได้แก่ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว และปวดเบ้าตา มีไข้สูงประมาณ 39-40 องศาเซลเซียส ไอมีเสมหะ และมักไม่ค่อยมีน้ำมูก ในกรณีที่เป็นรุนแรง อาจเกิดภาวะปอดอักเสบแทรกซ้อนได้   ไข้หวัดแดด (Summer Flu) เกิดจากการได้รับเชื้อไข้หวัดร่วมกับการเผชิญอากาศร้อนจัด หรือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกะทันหัน จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน กลุ่มเสี่ยงที่สำคัญคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี...

Read more...
ไข้หวัดแดด

ตากแดดนาน ก็เป็นหวัดได้ “ ไข้หวัดแดด ” อันตรายในช่วงปิดเทอม

เมื่อช่วงปิดเทอมใกล้เข้ามา หลายครอบครัวอาจมีแผนพาลูก ๆ ออกไปท่องเที่ยวและทำกิจกรรมกลางแจ้ง แต่เมื่อกลับถึงบ้านหรือที่พัก อาจพบว่าลูกรักงอแง และมองว่าเป็นความเหนื่อยล้าหลังการเล่นสนุก แต่หนึ่งในโรคที่มักถูกมองข้ามคือ ไข้หวัดแดด   ไข้หวัดแดดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้ดี หากเด็กเล่นกลางแดดนานเกินไป แล้วเข้าไปในที่เย็นจัด เช่น ห้องแอร์ หรือโดนพัดลมแรง ๆ ทันที ระบบภูมิคุ้มกันอาจอ่อนแอลง ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัด เช่น ตัวร้อน ปวดหัว คัดจมูก น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย  

อาการของ ไข้หวัดแดด อาจคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป แต่มีลักษณะเฉพาะที่ควรสังเกต เช่น

- ตัวร้อน มีไข้ต่ำ ๆ หลังออกแดดเป็นเวลานาน - ปวดหัว มึนศีรษะ เนื่องจากร่างกายขาดน้ำและร่างกายร้อนเกินไป - น้ำมูกไหล คัดจมูก แต่ไม่มีอาการไอหนักเหมือนไข้หวัดปกติ - อ่อนเพลีย ซึม หรือไม่มีแรง งอแงกว่าปกติ - เวียนหัว หรือคลื่นไส้ บางรายอาจมีอาการหน้ามืดเพราะร่างกายขาดน้ำ   การป้องกันไข้หวัดแดดเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมที่เด็ก ๆ ใช้เวลาเล่นกลางแจ้งเป็นเวลานาน การดูแลให้ลูกน้อยดื่มน้ำอย่างเพียงพอ...

Read more...
pm2.5

ออกกำลังกายอย่างไร ให้ปลอดภัยจากฝุ่น pm2.5

หลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 พฤติกรรมของประชากรทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไป การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมยอดนิยมมากขึ้น ในช่วงฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัดและมีปริมาณ ฝุ่น pm2.5 สูง การออกกำลังกายกลางแจ้งอาจกลายเป็นความท้าทายที่เสี่ยงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะหากร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่ออุณหภูมิที่สูงและมลพิษในอากาศ  

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)

เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ รวมถึงผลกระทบจากมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพ ระดับ AQI ที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย 0-60: ปลอดภัยในการออกกำลังกายกลางแจ้ง 60-100: สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรลดความถี่ในการออกกำลังกายกลางแจ้ง 100-150: แนะนำให้ออกกำลังกายในยิมหรือว่ายน้ำในสระว่ายน้ำที่มีระบบปิด เกิน 150: แม้จะออกกำลังกายในร่ม ก็ควรใช้เครื่องกรองอากาศ  

ข้อควรระวังก่อนออกกำลังกายในช่วง ฝุ่น pm2.5 สูง

1. ตรวจสอบคุณภาพอากาศก่อนออกกำลังกาย หากค่าฝุ่นเกิน 37.5 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ควรเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง สูงกว่า 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทั้งหมด 2. เลือกสถานที่และเวลาในการออกกำลังกาย สถานที่: ควรเลือกออกกำลังกายในที่ร่มที่มีการควบคุมคุณภาพอากาศ เช่น ฟิตเนส หรือภายในบ้าน เวลา: ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัด...

Read more...
ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ ภัยร้ายในความเงียบ

ในทุกๆ ปี ไข้หวัดใหญ่ เป็นหนึ่งในโรคที่คุกคามสุขภาพของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี สามารถแพร่กระจายได้ง่าย แต่น้อยคนนักที่ทราบว่า ไข้หวัดใหญ่นั้นมีสาเหตุมาจากไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ คือ สายพันธุ์ A และ B กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือกลุ่มอายุ 5-9 ปี มักพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่พบในโรงเรียน ทั้ง 2 สายพันธุ์มีความแตกต่างกัน ดังนี้  

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

- อาการรุนแรง อันตรายมากที่สุด - แพร่ระบาดเป็นวงกว้างทั่วโลก กลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว - ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ใหม่ได้ - มีอาการทั่วไป คือ ไข้สูง, อ่อนเพลีย, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, ไอแห้ง, หายใจลำบาก  

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

- แพร่ระบาดในระดับท้องถิ่นหรือในกลุ่มประชากรบางกลุ่ม เช่น โรงเรียน หรือชุมชนที่มีความหนาแน่นสูง - มีอาการไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์ A แต่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำได้ - มีอาการทั่วไป...

Read more...
PM2.5

PM2.5 ฝุ่นพิษภัยร้ายอันตรายกว่าที่คุณคิด

มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่กลับมีผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากภัยร้ายที่มองไม่เห็นนี้ การป้องกันตนเองและคนที่คุณรักจึงสำคัญเป็นอย่างมาก   PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์ถึง 20 เท่า ฝุ่นชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศและเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ลึกถึงปอดและกระแสเลือด มีแหล่งกำเนิดมาจาก ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมและการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาขยะและเศษวัสดุทางการเกษตร ฝุ่นจากการก่อสร้างและการเผาป่า   จะเห็นได้ว่า PM 2.5 อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด และมนุษย์คือสาเหตุหลัก เมื่อฝุ่นพิษเกิดขึ้นมาและพบกับภาวะโลกร้อน ส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป ทำให้มลพิษสะสมในบรรยากาศได้นานขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของกระแสลม ทำให้ PM 2.5 กระจายไปยังพื้นที่ที่ไม่เคยได้รับผลกระทบมาก่อน แม้จะอยู่ห่างไกลความเป็นเมือง ก็ได้รับผลกระทบในวงกว้างไปพร้อมกัน และหากสัมผัสฝุ่นพิษ PM 2.5 ในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด, โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง, โรคทางผิวหนังหรือตาอักเสบได้  

สามารถสังเกตอาการแพ้ฝุ่นพิษ PM2.5 ได้จากอาการเหล่านี้

ในบุคคลทั่วไป อาจมีอาการระคายเคืองโพรงจมูก มีจาม น้ำมูกใส ไอ หรือหายใจไม่สะดวก อาจมีตาแดง...

Read more...